โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้กับประชาชนในระยะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นโครงการ ด้านสาธารณสุข เพราะพระ องค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก


     ในการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ของพระองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าราษฎรจำนวนมากมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงเกิดโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และหลังจากนั้น เมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม เพื่อเยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการ ต่าง ๆ โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์จึงได้ขยาย ขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนี้

๑. แพทย์ประจำพระองค์ และคณะแพทย์ตามเสด็จฯ
๒. หน่วยแพทย์หลวงกองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง และเจ้า หน้าที่
๓. คณะแพทย์ตามพระราชประสงค์ เป็นแพทย์ที่อาสามาจากหลาย สาขาวิชาหลายหน่วยงาน ได้แก่ คณะศัลยแพทย์อาสา จากราชวิทยาลัยศัลย์แพทย์ แห่งประเทศไทย คณะศัลยแพทย์อาสา จากโรงพยาบาลศิริราช คณะศัลยแพทย์อาสา จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คณะแพทย์หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้ หน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่ จากกรมแพทย์ทหารบก คณะจักษุแพทย์ แพทย์พระราชทานซึ่งคณะแพทย์ดังกล่าว จะจัดชุดทำงานตามสถานที่ต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ หรือการตามเสด็จฯ ไปรักษาพยาบาลตามหมู่บ้านต่างๆ ฯลฯ

     นอกจากนี้ ยังมีการอบรมหมอหมู่บ้านตามพระราชดำริ โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริให้คัดเลือกราษำรอาสาสมัครจากหมู่บ้านต่างๆ มารับการอบรม ซึ่งได้เริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับการอบรม เหล่านี้ได้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือ ประชาชนในท้องถิ่นของตน


     งานด้านสาธารณสุขดังกล่าว มีพื้นที่ครอบคลุมในภาคเหนือตอนบน ประมาณ ๑๐ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำ พูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ๘ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย มุกดาหาร มหาสารคม กาฬสินธุ์ เลย และภาคใต้ ๔ จังหวัด คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา


     โครงการแพทย์พระราชทานนี้ จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุข ภาพอนามัยของราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ราษฎรส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การมีคณะแพทย์ พระราชทานออก ไปบำบัดรักษาผู้ป่วย จะทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับการอบรมหมอหมู่บ้านนั้น จะช่วยให้ ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน รู้จักวิธีรักษาพยาบาลแบบปัจจุบัน และรู้จักวิธีติดต่อกับ หน่วยราชการ ในกรณีที่เกินขีด ความสามารถที่จะดูแลรักษาตน เองได้อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว

 

การเกษตร
สิ่งแวดล้อม
การสาธารณสุข
การส่งเสริมอาชีพ
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การคมนาคมสื่อสาร
สวัสดิการสังคม
ตัวอย่างโครงการ

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ห้ามนำข้อมูลของเวปไซท์นี้ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร