โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

     ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ช้างป่าจำนวน ๒ ตัว เสียชีวิตเพราะได้รับสารพิษจากการทำไร่สับปะรดบริเวณพื้นที่บ้านรวมไทย หมู่ที่ ๗ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี และช้างป่าจำนวน ๑ ตัว ถูกยิงเสียชีวิต และถูกเผาทิ้งด้วยยางรถยนต์บริเวณบ้านพุบอน หมู่ที่ ๘ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี เนื่องจากเข้ามากินสับปะรดที่ราษฎรได้ปลูกไว้ ซึ่งเหตุการณ์ช้างป่าเสียชีวิตทั้ง ๒ กรณีสื่อต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ได้กระจายข่าวออกไปอย่างกว้างขวาง


     จากกรณีดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ สรุปได้ว่า


"ให้ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี โดยใช้รูปแบบในการฟื้นฟูเช่นเดียวกับการดำเนินงานของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี และโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ จังหวัดราชบุรี"

ผลการดำเนินงาน
๑. การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า
การก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร ลักษณะต่าง ๆ ได้แก
๑) ฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน ( Check Dam) ดำเนินการก่อสร้างบริเวณพื้นที่ส่วนบนในลุ่มน้ำย่อยต่าง ๆ (ร่องห้วย) เป้าหมายรวมทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ แห่ง ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๑-๒๕๔๗ แล้วเสร็จจำนวน ๕๐๕ แห่ง หรือร้อยละ ๓๓.๗
๒) ฝายต้นน้ำลำธารกึ่งถาวร ดำเนินการก่อสร้างในร่องห้วยสลับกับ Check Dam

๓)

อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก โดยมีกรมชลประทานรับผิดชอบดำเนินงาน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒
โครงการปลูกป่าและดูแลรักษาป่า จำนวน ๑๘,๐๐๐ ไร่
  กรมอุทยานแห่งชาติฯ (เดิมกรมป่าไม้รับผิดชอบ) ดำเนินการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม จำนวน ๔,๖๙๐ ไร่
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนกิจกรรมดำเนินงานในการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า จำนวน ๙,๙๗๒ ไร่ แยกเป็น การปลูกฟื้นฟูสภาพป่าดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย จำนวน ๕,๘๕๓ ไร่ รวมทั้งสนับสนุนการก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น จำนวน ๒๕๐ แห่ง
    การโปรยหว่านเมล็ดพันธุ์พืช ตามเส้นทางเดินของช้างป่าระยะทางประมาณ ๔๘ กิโลเมตร ได้แก่ มะขามเปรี้ยว มะเกลือ กระถิน และมะค่า ขณะนี้เมล็ดพันธุ์ที่โปรยหว่านเจริญเติบโตขึ้นอยู่หนาแน่น
สภาพแหล่งน้ำที่ได้ดำเนินการซ่อมแล้ว เพื่อลดความลาดชันให้ช้างขึ้น-ลงได้สะดวก
    การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ในบริเวณพื้นที่พัฒนา จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ กล้า และอยู่ระหว่างดำเนินการในปี ๒๕๔๘ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ กล้า
๒. การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
    ดำเนินการขุดบ่อน้ำประจำไร่นาขนาดความจุ ๑,๒๖๐ ลบ.ม. จำนวน ๓๐ บ่อ แล้วเสร็จ สำหรับในปี ๒๕๔๘ มีแผนดำเนินการ จำนวน ๔๐ บ่อ ตามความต้องการของประชาชน
    ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินให้แก่ราษฎรได้แก่ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ การส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด การปลูกหญ้าแฝก
    การส่งเสริมอาชีพในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร เช่น การปลูกพืชแบบผสมผสาน และการเลี้ยงไหม ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน ๓๒ ราย
๓. การประชาสัมพันธ์และจิตวิทยา ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสิ่งพิมพ์และแผ่นพับ และจัดชุดปฏิบัติการจิตวิทยาออกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ราษฎรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบมีความเข้าใจในผลกระทบที่เกิดขึ้น และเข้าใจในผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานของโครงการฯ
   
แนวทางดำเนินงานต่อไป
     ดำเนินงานต่อเนื่องจากระยะที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับความถูกต้องครบถ้วนและคุณภาพประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้จะทบทวนการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมาทั้งหมดทุกด้าน พัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเพื่อนำมากำหนดแนวทางดำเนินงานในระยะต่อไปโดยจัดทำแผนแม่บทของโครงการฯ ระยะที่ ๒ ขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางดำเนินงานระยะต่อไป







ี้


  

 

การเกษตร
สิ่งแวดล้อม
การสาธารณสุข
การส่งเสริมอาชีพ
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การคมนาคมสื่อสาร
สวัสดิการสังคม
ตัวอย่างโครงการ

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ห้ามนำข้อมูลของเวปไซท์นี้ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร