“ ความซื่อสัตย์สุจริตนั้น ขอวิเคราะห์ศัพท์ว่าความตรงไปตรงมาต่อสิ่ง ทั้งหลายน้อยใหญ่ ส่วนงานของราชการ ส่วนงานของตัวเองเป็นส่วนตัว ทั้งหมดคือความ ซื่อสัตย์สุจริต และคำว่าสุจริตนี้ก็มาจากคำว่าการท่องเที่ยวของจิตในทางที่ดี หรือคิดให้ดี คิดให้สุจริต ทั้งฉลาดด้วย ทั้งไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือการงานของตัว ทั้งไม่เบียดเบียนส่วนรวม ด้วย จึงจะเป็นผู้สุจริต”
พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะผู้บังคับบัญชา อาจารย์และนายทหารนักเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๕๗
ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๒
“ ความซื่อสัตย์สุจริตนี้ คือไม่โกง คือไม่คอรัปชั่น คือไม่ขโมย ไม่ทุจริต นี่ก็พูดได้ง่าย ๆ แต่ ปฏิบัติได้หรือเปล่า เพราะบางอย่างมันไม่ใช่ขโมย บางอย่างไม่ใช่คอรัปชั่น บางอย่างไม่ใช่ ทุจริต แต่ว่าเป็นการทำให้คนอื่นเขาทุจริตได้”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ณศาลาดุสิดาลัย

๔ ธันวาคม ๒๕๒๑
“ ผู้มีความจริงใจ จะกระทำสิ่งใดก็มักสำเร็จได้โดยราบรื่น”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๕
“ นิสัยใจคอของคน เป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน แต่ละคนจะต้องปราบตัวเองโดยขัดเกลาให้ลุล่วงไปได้”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย

๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
“ ความสงบภายใน หรือจิตใจที่ปลอดโปร่งจากสิ่งรบกวนนี้สำคัญมากควรจะทำให้มีขึ้น เพราะผู้ที่จิตใจสงบจะใช้ความคิด พิจารณาตนได้อย่างกว้างขวาง และถูกต้องดีขึ้น”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่พสกนิกรไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๐่

หมวดการปกครอง
หมวดภาษา
หมวดการศึกษา
หมวดความมั่นคง
หมวดหน้าที่
หมวดความพอเพียง
หมวดความคิด
หมวดความซื่อสัตย์
หมวดการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
หมวดการกีฬา
หมวดความสามัคคี

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ห้ามนำข้อมูลของเวปไซท์นี้ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร